วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Week7:คอมพิวเตอร์และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์







คอมพิวเตอร์และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

     ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกัน ได้"เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น

MAN (Metropolitan Area Network)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ MAN (Metropolitan Area Network)
    ระบบเครือข่ายเมือง เป็นเน็ตเวิร์กที่จะต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็นการติดต่อกันในเมือง เช่น เครื่องเวิร์กสเตชั่นอยู่ที่สุขุมวิท มีการติดต่อสื่อสารกับเครื่องเวิร์กสเตชั่นที่บางรัก

WAN (Wide Area Network)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ WAN (Wide Area Network)
   ระบบเครือข่ายกว้างไกล หรือเรียกได้ว่าเป็น World Wide ของระบบเน็ตเวิร์ก โดยจะเป็นการสื่อสารในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย(Media) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up / คู่สายเช่า Leased line / ISDN) (lntegrated Service Digital Network สามารถส่งได้ทั้งข้อมูล เสียง และภาพในเวลาเดียวกัน)ระบบเครือข่ายระยะไกล หรือ Wide Area Network เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง โดยมีการส่งข้อมูลในลักษณะเป็นแพ็คเก็ต (Packet) ซึ่งต้องเดินทางจากเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง แพ็กเก็ตนี้ถูกส่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่ง โดยมีสายสื่อสารหรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นในการเชื่อมต่อถึงกันในลักษณะเป็นลูกโซ่ หรือเป็นทอดๆอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระหว่างทางแต่ละตัวจะรับข้อความนั้นเก็บจำเอาไว้ และส่งต่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ถัดไปในเส้นทางที่สะดวก

LAN (Local Area Network)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ LAN (Local Area Network)
   ระบบเครื่องข่ายท้องถิ่น เป็นเน็ตเวิร์กในระยะทางไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือจะเป็นระบบเครือข่ายที่อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรือต่างอาคาร ในระยะใกล้ๆพัฒนาการของ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เกิดจากการเชื่อมต่อเทอร์มินอล (Terminal)เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม (Mainfram Computer) หรือเชื่อมต่อกับมินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer) ซึ่งการควบคุมการสื่อสารและการประมวลผลต่างๆจะถูกควบคุมและดำเนินการโดยเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจเรียกอีกอย่างว่าโฮสต์ (Host) โดยมีการเชื่อมโยงระหว่างโฮสต์กับเทอร์มินอล ส่วนเทอร์มินอลทำหน้าที่เป็นเพียงจุดรับข้อมูล และ แสดงข้อมูลเท่านั้น



ที่มาของรูป : tanainan1996.blogspot.com

ไพ่รัมมี่(ดัมมี่) เล่นยากนัก มาสอนซะเลย

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไพ่ ดัมมี่



  ในบรรดาไพ่ทั้งหมด สำหรับผมแล้ว ผมว่าอีนี้เล่นยากสุดแล้ว เพราะไหนจะไม่ใช้การเดา แต่เป็นการคิด การใช้หัว ซึงปรกติแล้วคนที่เล่นไพ่จะหวังแต่ดวงอย่างเดียว แต่เกมนี้บอกเลยว่าดวงดีจะไม่ทำให้คุณชนะ แต่ความสามารถในการใช่ดวงที่คุณมีตางหากที่จะทำให้คุณกินตังหมดโต๊ะ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ไพ่ ดัมมี่

    รัมมี่ (Rummy) เป็นเกมไพ่จับคู่ ในการเล่นอาศัยการอ่านใจและอ่านไพ่บนมือคู่ต่อสู้ มากกว่า นักศณิตศาสตร์หรือนักสถิติจะได้เปรียบในการแข่งรัมมี่ (หรือแม้แต่เกม โปเกอร์) การเล่นรัมมี่จะใช้เวลาค่อนข้างนาน แล้วแต่จำนวนผู้เล่น ดังนั้น ในความเป็นจริง นักพนันทั่วไปจึงไม่นิยมเล่นเกมนี้ เพราะจะได้เสียกันช้ากว่าเกมอื่น เช่น ป๊อกเด้ง ที่มีรอบการได้เสียหมุนเร็ว สิ่งที่สนุกในเกมไพ่รัมมี่ นอกจากการแข่งขันในเกมปกติคือ การกินมืด หรือ น๊อคมือ ซึ่งสิ่งนี้มีผลทางจิตวิทยาในการแข่งอีกด้วย
การแจกไพ่
    ผู้เล่น 2 คนแจกคนละ 11 ใบ ผู้เล่น 3 คนแจกคนละ 9 ใบ ผู้เล่น 4 คนแจกคนละ 7 ใบ (ในบางกติกา สำหรับผู้เล่น 2 คน หลังจากแจกไพ่แล้ว จะคัดไพ่ 5 ใบจากก้นกองออกแยกไว้ เพื่อให้เป็นการยากแก่การนับไพ่ทำให้เกมท้าทายยิ่งขึ้น)
กติกา
    หลังจากแจกไพ่แล้ว ไพ่ที่เหลือคือกองจั่ว ผู้แจกเปิดไพ่ใบบนสุดและวางไว้ข้าง ๆ กองจั่ว ไพ่ใบนั้นถือเป็นกองกลางสำหรับทิ้งไพ่ผู้เล่นคนแรกเริ่มโดยการจั่วไพ่หนึ่งใบจากกองจั่ว หรือเก็บไพ่จากกองกลางก็ได้ (อ่านเรื่อง "การเก็บไพ่" ด้านล่าง) หลังจากนั้นจึงทิ้งไพ่ลงมาหนึ่งใบโดยวางเรียงต่อจากไพ่กองกลางสำหรับผู้เล่นคนถัดมาเมื่อถึงตาผู้เล่นคนถัดมา ผู้เล่นเลือกว่าจะจั่วจากกองจั่วหรือเก็บไพ่จากกองกลางจากนั้นจึงทิ้งไพ่หนึ่งใบโดยวางเรียงต่อจากไพ่กองกลางสำหรับผู้เล่นคนถัดมา และวนไปจนกระทั่งผู้เล่นคนหนึ่งคนใด "น็อค" หรือจบเกม
    เป้าหมายคือ ผู้เล่นแต่ละคนจะพยายามเรียงไพ่เป็นชุด ๆ ชุดละอย่างน้อยสามใบ คือ จัดตอง (เช่น 7♣ 7♦ 7♥ หรือ J♥ J♦ J♠ J♣) หรือเรียงไพ่ในดอกเดียวกัน (เช่น 4♦ 5♦ 6♦ หรือ 10♥ J♥ Q♥ K♥) ในเกมรัมมี่นี้ลำดับไพ่คือ 2 3 4 5 6 7 8 9 10 J Q K A เวลาทิ้งไพ่ลงบนกองกลาง ให้จัดเรียงเป็นแถวเพื่อให้สามารถเห็นไพ่แต่ละใบที่ทิ้งลงมาตามลำดับ
การเก็บไพ่
    ผู้เล่นจะเก็บไพ่จากกองกลางได้ก็ต่อเมื่อสามารถนำไพ่จากกองกลางนั้นมาจัดเข้าชุดได้ทันทีเท่านั้น และผู้เล่นจะต้องมีไพ่อยู่ในมือแล้วอย่างน้อยหนึ่งใบที่จะนำมารวมให้เข้าชุดกับใบที่เก็บได้ ผู้เล่นเก็บโดยเริ่มจากใบที่จะนำมาจัดเข้าชุดและรวบลงมาจนถึงใบสุดท้าย และจะต้องวางไพ่ชุดนั้นหงายขึ้นบนโต๊ะทันที ชุดอื่น ๆ ที่สามารถจัดได้หรือใบฝาก (อ่านเรื่อง "การฝาก" ด้านล่าง) ที่เก็บมาได้นั้นผู้เล่นจะวางลงด้วย หรือจะเก็บไว้ในมือต่อไปก็ได้
การเกิด
    เมื่อผู้เล่นคนใดเก็บไพ่จากกองกลางเป็นครั้งแรกและเปิดไพ่ชุดนั้นลงบนโต๊ะ ถือว่าผู้เล่นผู้นั้น "เกิด" แล้ว ผู้เล่นที่เกิดแล้วจะสามารถวางไพ่ที่จัดเข้าชุดแล้วในมือ หรือวางใบฝาก (อ่านเรื่อง "การฝาก" ด้านล่าง) ลงบนโต๊ะได้ทั้งในตานั้นและในตาถัด ๆ มา การเกิดมีประโยชน์คือ ผู้เล่นจะไม่ "ตกตึก" (อ่านเรื่อง "การตกตึก" ด้านล่าง) และชุดไพ่และใบฝากที่วางลงแล้วจะไม่ต้องถูกหักลบแต้มเมื่อจบเกม
การฝาก
   การฝากคือการต่อไพ่อย่างน้อยหนึ่งใบ (ใบฝาก) จากชุดที่วางออกบนโต๊ะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นชุดของผู้เล่นคนอื่น หรือของตัวเองก็ตาม เช่น ถ้าผู้เล่น ก. วางไพ่ชุด 8♣ 9♣ 10♣ J♣ ลงบนโต๊ะ ผู้เล่น ข. มีสิทธิฝาก Q♣ (หรือ 6♣ 7♣ ด้วยก็ได้) โดยการวางไพ่เหล่านั้นลงเมื่อถึงตาของผู้เล่น ข. ซึ่งหากผู้เล่น ข. ฝากด้วยการวาง 7♣ ลง ผู้เล่นคนอื่น ๆ ก็จะสามารถฝาก 6♣ ต่อได้เช่นกัน แต่หากเมื่อใดก็ตามที่เกิดไพ่ Q K A จะไม่สามารถฝากไพ่ต่อได้ เช่นนาย ก. วางไพ่ชุด Q K A ลงบนโต๊ะ เล่น ข. จะไม่มีสิทธิฝาก 2 หรือ 3 ได้ หากผู้เล่น ก. วางชุดตอง 9 9 9 ลงบนโต๊ะ ผู้เล่นใดที่มีเบอร์ 9 ใบที่เหลือก็สามารถฝากได้เช่นกันเมื่อถึงตาของตน การฝากนั้นจะวางไพ่ลงได้ก็ต่อเมื่อเป็นตาของผู้เล่นที่มีใบฝากและหากผู้เล่นได้ "เกิด" แล้ว หรือจะถือใบฝากไว้ในมือจนกระทั่งจบเกมก็ได้ การเล่นนั้นจะไม่สามารถฝากไพ่ได้เกิน 2 ใบต่อ 1 เกมๆนั้น
วิธีจบเกม หรือ น๊อก
   เมื่อไรที่ผู้เล่นคนหนึ่งคนใดได้จั่วไพ่ หรือเก็บไพ่จากกองกลางแล้ว และจัดเข้าชุดหรือ "ฝาก" ได้ครบหมด และเหลือไพ่อีกเพียงใบเดียว ถือว่าผู้เล่นผู้นั้น "น็อค" โดยผู้เล่นจะวางไพ่ในมือลงทั้งหมด และคว่ำไพ่ใบสุดท้ายนั้นลง หากไม่มีผู้เล่นคนใดสามารถน็อคได้เลย จนกระทั่งไพ่หมดจากกองจั่วแล้ว คือผู้เล่นจั่วไพ่ใบสุดท้าย และทิ้งไพ่ใบหนึ่งลงบนกองกลาง และผู้เล่นคนถัดมาไม่ สามารถเก็บไพ่จากกองกลางเพื่อน็อคได้ ให้ผู้เล่นแต่ละคนนับแต้มจากชุดที่วางลงแล้ว และหักลบคะแนนจากไพ่ที่ถืออยู่ในมือ ในเกมถัดมา ผู้เล่นที่น็อคจะได้เป็นคนเริ่มเกม
การนับแต้ม
   ผู้เล่นแต่ละคนจะนับแต้มของตนเมื่อมีการจบเกมหรือ "น็อค" เบอร์ 2 3 4 5 6 7 8 9 ใบละ 5 แต้ม เบอร์ 10, J, Q, K ใบละ 10 แต้ม A ใบละ 15 แต้ม ไพ่สเปโตคือไพ่พิเศษซึ่งมีคะแนน 50 แต้มคือ 2♣ และ Q ♠ ไพ่ใบที่ใช้ "น็อค" ก็ถือว่ามีคะแนน 50 แต้มเช่นกัน ผู้เล่นจะได้แต้มเฉพาะจากไพ่ที่ได้วางหงายขึ้นบนโต๊แล้วเท่านั้น ไพ่ที่เหลืออยู่ในมือ ไม่ว่าจะเข้าชุดแล้วหรือเป็นใบฝากหรือไม่ก็ตาม จะต้องถูกติดลบ ผู้เล่นผู้ใดที่สะสมคะแนนได้ถึง 500 แต้มก่อนเป็นผู้ชนะ
การน๊อกมืด
   หากผู้เล่นคนใดสามารถ "น็อค" ได้โดยมิได้ "เกิด" เลย คือจั่วจากกองจั่วเท่านั้น หรือเก็บไพ่จากกองกลางแล้วก็ "น็อค" ทันทีโดยที่ไม่ได้ "เกิด" มาก่อน ถือว่าผู้เล่นคนนั้น "น็อคมืด" ซึ่งแต้มของผู้น็อคมืดในเกมนั้นจะได้เป็นสองเท่า ซึงบอกเลยว่าเสี่ยงแต่คุ้ม
การตกตึก
   หากผู้เล่นคนใดยังไม่ได้ "เกิด" (ไม่ได้เก็บไพ่จากกองกลางเลย) แล้วผู้เล่นคนอื่น "น็อค" ถือว่าผู้เล่นคนนั้นตกตึก แต้มที่ถืออยู่ในมือทั้งหมดจะถูกติดลบเป็นสองเท่า
การโง่ (โครตเจ็บ)
   หากผู้เล่นคนใดทิ้งไพ่ลง และผู้เล่นคนถัดมาเก็บไพ่ใบนั้น ๆ เพียงใบเดียวแล้วน็อค ผู้เล่นที่ทิ้งไพ่จะถูกหักอีก 50 แต้ม หรือ "โง่" และเกมถัดมาให้แจกไพ่วนย้อนกลับ



ที่มารูปภาพ : my.dek-d.com

Review : shovel Knight อัศวินพลั่วคุณธรรม!!



Shovel Knight รีวิว



        เกม Shovel Knight เป็นเกมแนว 2D Platformer ในรูปแบบกราฟฟิค 8-bit ที่ยึดความเป็นเรโทคลาสสิคเหมือนสมัยเครื่อง NES และ Famicom ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากเกมดังในอดีตไม่ว่าจะเป็น Rockman ,Castlevania และ DuckTales โดยภายในเกมเราจะรับบทบาทเป็นตัวละครนามว่า Shovel Knight ที่มีอาวุธเป็นพลั่วบวกกับสวมเกราะอัศวินเช่นเดียวกับชื่อ
               Shovel Knight เป็นหนึ่งในเกมที่ผมเห็นแล้วเรียกว่าตกหลุมรักเลยก็ว่าได้ สิ่งที่พิเศษตั้งแต่ครั้งแรกเห็นแบบไม่ต้องสัมผัสคือความคลาสสิคที่เกมนำเสนอ โลกของเกมจะนำเสนอลักษณะ world map ที่เราต้องเดินเป็นจุดๆเพื่อเข้าไปเล่นในเลเวลนั้นและต่อสู้กับบอสประจำด่าน แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้ดูน่าสนใจก็เห็นจะเป็นอาวุธตัวเอกเป็น’พลั่ว’นี่แหละ ฉะนั้นแล้วการใช้อาวุธภายในเกมในการบุกตะลุยส่วนใหญ่เราจะได้ใช้สิ่งนี้เป็นอาวุธ ไม่ว่าจะเป็นการฟาดใส่ศัตรู การใช้ขุดดิน การใช้พลั่วเพื่อไปยังพื้นที่ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ สิ่งเหล่านี้ทีมพัฒนาสามารถดึงความโดดเด่นของสิ่งของที่ดูไม่ค่อยจะเป็นอาวุธเท่าไรนักแต่นำเสนอออกมาได้อย่างสร้างสรรค์และไม่น่าเบื่อ นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถซื้อเวทย์มนต์มาใช้เป็นท่ารองเพื่อเพิ่มความหลากหลายและมีส่วนช่วยเหลือในหลายๆจุดไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้และการแก้ปริศนา เพียงแต่ความสามารถรองเหล่านี้บางอย่างกลับดูขาดความน่าใช้แต่จำเป็นต้องใช้ในบางสถานการณ์ไปเสียอย่างงั้น ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าทำให้ความสนุกลดลงหรอกนะ เพราะโดยหลักแล้วผมสนุกไปกับการใช้พลั่วในการผจญภัยในเกมอยู่ดี
           สิ่งที่ผมยอมรับและชื่นชมเกม Shovel Knight เห็นทีจะเป็นเรื่องเลเวลหรือด่านภายในเกมที่ทางทีมงานได้ออกแบบมาได้อย่างน่าประทับใจ แต่ละด่านนั้นจะมีจุดเด่นและความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงในเรื่องลูกเล่นภายในด่านนั้นๆอย่างเช่นด่านเรือเหาะที่มีลูกเล่นพายุเข้ามาเป็นอุปสรรค์ ด่านอุโมงค์ใต้ดินกับลูกเล่นลาวาที่สามารถโดนของเหลวกลายเป็นยางเด้งดึ๋งให้เรากระโดดสูงขึ้น ด่านประสาทผีกับฝนกระหน่ำฟ้าผ่าทำให้เราเห็นแต่เงาของเราเพิ่มอุปสรรค์ในการเดิน การใช้พลั่วเพื่อกระเด้งบนหัวศัตรูผ่านเหวลึกไปยังอีกฟาก ซึ่งตรงนี้ถือเป็นอะไรที่ท้าทายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะคนที่เป็นโรคแพ้การกระโดดในเกมสองมิติ แถมแต่ละภูมิประเทศของด่านนั้นๆก็สอดคล้องกับลักษณะของบอสประจำด่านด้วยล่ะ นอกจากนั้นแล้วแต่ละด่านยังซ่อนปริศนาเล็กน้อยเพื่อเพิ่มความสนุกอย่างกำแพงที่เราทำลายแล้วด้านในจะมีเพชรพลอยหรือหนังสือตัวโน๊ตซึ่งเป็นโบนัสพิเศษให้เก็บเป็นต้น ตรงนี้ผมมองว่าเป็นการเพิ่มความท้าทายและความสามารถเฉพาะตัวของเราในการค้นหาและคว้าไอเท็มพิเศษนั้นมา ส่วนใหญ่แล้วจะไปอยู่กับที่การกระโดดน่ะครับ ถือเป็นอะไรที่เกม 2D Platformer หลีกเลี่ยงไม่ได้อยู่แล้ว ซึ่งโจทย์ของทีมพัฒนาคือจะนำเสนอสิ่งเหล่านี้ได้น่าสนุกขนาดไหน สรุปกันง่ายๆเลยเกม Shovel Knight มีการออกแบบเลเวลได้ดูดีเอามากๆและผมไม่รู้สึกเบื่อหรือเจออารมณ์ซ้ำแบบเดิมๆ ผมรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากว่าในด่านใหม่ที่ผมกำลังจะได้เล่นว่าจะนำเสนอความยากในลักษณะไหนมากกว่า
        สรุปให้เข้าใจกันง่ายๆ Shovel Knight คือหนึ่งในเกมอินดี้ของปี 2014 ที่ทำออกมาแทบจะเรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ ตัวเกมสามารถเข้าถึงผู้เล่นได้ทุกวัย เกมสามารถหยิบมาเล่นซ้ำได้เพราะมีโหมด New game plus เหมาะกับผู้ที่โหยหาอารมณ์แบบเรโท ระดับความยากที่นำเสนอไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปแต่รักษาความสนุกในการเล่นตลอดทั้งเกมได้ตั้งแต่ต้นจนจบ การออกแบบเลเวลภายในเกมได้อย่างสร้างสรรค์ ถือเป็นเกมที่หยิบลูกเล่นจุดเด่นของเกมยุคเก่ามารวมเข้าไว้ด้วยกันจนกลายเป็นจุดเด่นในแบบฉบับ Shovel Knight อัศวินพลั่วคุณธรรม ซึ่งเวลาจำนวน 9 ชั่วโมงในการเล่นเกมนี้บอกเลยว่าไม่รู้สึกเสียดายเลยสักนิด
ที่มารูปภาพ : http://www.juropy.com/





week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (c++)


           ภาษาซีพลัสพลัส เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์อเนกประสงค์ มีโครงสร้างภาษาที่มีการจัดชนิดข้อมูลแบบสแตติก และสนับสนุนรูปแบบการเขียนโปรแกรมที่หลากหลาย ได้แก่การโปรแกรมเชิงกระบวนคำสั่งการนิยามข้อมูลการโปรแกรมเชิงวัตถุ, และการโปรแกรมแบบเจเนริก ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่นิยมมากภาษาหนึ่งนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1990
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ c++
         เบียเนอ สเดราสดร็อบ เป็นผู้พัฒนาภาษาซีพลัสพลัส  ในปี ค.ศ. 1983 เพื่อพัฒนาภาษาซีดั้งเดิม สิ่งที่พัฒนาขึ้นเพิ่มเติมนั้นเริ่มจากการเพิ่มเติมการสร้างคลาสจากนั้นก็เพิ่มคุณสมบัติต่างๆ ตามมา ได้แก่ เวอร์ชวลฟังก์ชัน การโอเวอร์โหลดโอเปอเรเตอร์ การสืบทอดหลายสาย เทมเพลต และการจัดการเอกเซพชัน
 รูปแบบของการออกแบบภาษาซีพลัสพลัส
ภาษาซีพลัสพลัสได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมทั่วไปสามารถรองรับการเขียนโปรแกรมในระดับภาษาเครื่องได้ เช่นเดียวกับภาษาซี
        ในทางทฤษฎี ภาษาซีพลัสพลัสควรจะมีความเร็วเทียบเท่าภาษาซี แต่ในการเขียนโปรแกรมจริงนั้น ภาษาซีพลัสพลัสเป็นภาษาที่มีการเปิดกว้างให้โปรแกรมเมอร์เลือกรูปแบบการเขียนโปรแกรม ซึ่งทำให้มีแนวโน้มที่โปรแกรมเมอร์อาจใช้รูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้โปรแกรมที่เขียนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และภาษาซีพลัสพลัสนั้นเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนมากกว่าภาษาซี จึงทำให้มีโอกาสเกิดบั๊กขณะคอมไพล์มากกว่า
        ภาษาซีพลัสพลัสได้รับการออกแบบเพื่อเข้ากันได้กับภาษาซีในเกือบทุกกรณี
        มาตรฐานของภาษาซีพลัสพลัสถูกออกแบบมาเพื่อไม่ให้มีการเจาะจงแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์

ที่มารูปภาพ : isocpp.org